วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


 



การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ                


              การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศอ่านเพิ่มเติม






หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน






สิทธิมนุษยชน              

                  สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย




กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

            กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่อยู่ตามลำพัง และเมื่อติดต่อกับผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายแพ่งของไทย ซึ่งมีรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรม และสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข




การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข         


             สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอ่านเพิ่มเติม  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี





คุณลักษณะของพลเมืองดี           

          คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม


 


วัฒนธรรมไทย
             วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคม

 



แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม


                    แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและกลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 





การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ                


              การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศอ่านเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

เทศมหาชาติ

เทศมหาชาติ
ความสำคัญ
การเทศน์มหาชาติจะจัดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี วัดหลวงมักจะมีการจัดขึ้นด้วยร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ถือเป็นวันสำคัญที่ผู้เฒ่าผู้แก่เด็กเล็กมักจะร่วมกันตั้งแต่เตรียมงาน จนถึงวันเทศน์ ถือเป็นอานิสงส์อย่างยิ่ง


พิธีกรรม
ในวันแต่งดา ทางวัดพร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านจะตกแต่งเสนาสนะและเครื่องไทยทาน กัณฑ์เทศน์ ตั้งแต่กัณฑ์ ๑ ทศพร จนถึงกัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ซึ่งผู้ที่เกิดในราศีใดก็จะทำบุญในกัณฑ์นั้น ๆ แต่ละกัณฑ์ก็จะมีการตกแต่งให้คล้ายเรื่องราวในชาดก
วันเริ่มพิธีจะเริ่มตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น-๐๖.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น โดยนิมนต์พระสงฆ์ที่เสียงดี และฝึกหัดในการเทศน์ของแต่ละกัณฑ์ไว้
การเทศน์มหาชาติ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ รวมทั้งหมด ๑,๐๐๐ คาถา โดยเริ่มตั้งแต่
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร สำหรับผู้ที่เกิดปีชวด มีคาถา ๑๙ คาถา ใช้เพลง สาธุการ
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ สำหรับผู้ที่เกิดปีฉลู มีคาถา ๑๓๔ คาถา ใช้เพลง ดวงพระธาตุ
กัณฑ์ที่ ๓ ทานขันธ์ สำหรับผู้ที่เกิดปีขาล มีคาถา ๒๐๙ คาถา ใช้เพลง พญาโศก
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ สำหรับผู้ที่เกิดปีเถาะ มีคาถา ๕๗ คาถา ใช้เพลง พระยาเดิน
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก สำหรับผู้ที่เกิดปีมะโรง มีคาถา ๗๙ คาถา ใช้เพลง เซ่นเหล้า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง มีคาถา ๓๕ คาถา ใช้เพลง คุกพาทย์
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเมีย มีคาถา ๘๐ คาถา ใช้เพลง เชิดกลอง
กัณฑ์ที่ ๘ กุมารบรรพ์ สำหรับผู้ที่เกิดปีมะแม มีคาถา ๑๐๑ คาถา ใช้เพลง โอดเชิดฉิ่ง
กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี สำหรับผู้ที่เกิดปีวอก มีคาถา ๙๐ คาถา ใช้เพลง ทยอยโอด
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักบรรพ์ สำหรับผู้ที่เกิดปีระกา มีคาถา ๔๓ คาถา ใช้เพลง กลม
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ มีคาถา ๖๙ คาถา ใช้เพลง กราวนอก
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ สำหรับผู้ที่เกิดปีกุน มีคาถา ๓๖ คาถา ใช้เพลง ตระนอน
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ รวมชะตาปีเกิด มีคาถา ๔๘ คาถา ใช้เพลง กลองโยน